เกี่ยวกับโรงเรียนวัดทางหลวงโพธิ์ทอง

​โรงเรียนวัดทางหลวงโพธิ์ทอง

 

เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2476 โดยอาศัยสถานที่ที่วัดโพธิ์ทองล่างเป็นสถานที่เรียน มีนายเปรื่อง ฉายานนท์ เป็นครูใหญ่ ต่อมาวัดทางหลวงได้รื้อศาลาการเปรียญเพื่อสร้างอาคารเรียนเป็นเอกเทศ จึงได้นำนักเรียนจากวัดโพธิ์ทองล่างไปเรียนที่วัดทางหลวง ตั้งชื่อว่า โรงเรียนวัดทางหลวงโพธิ์ทองในวันที่ 24 มกราคม 2497 ทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
​พ.ศ. 2512 คณะกรรมการวัดทางหลวงโดยพระครูนนทกิจประสาธถ์ สร้างอาคารเรียนแบบ ป.017 ขนาด 6 ห้องเรียน โดยไม่ใช้งบประมาณ
พ.ศ. 2515​ ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารแบบ 017 ให้สมบูรณ์แบบ
​พ.ศ. 2520​ ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด สร้างอาคารแบบ 508 เป็น ตึก 3 ชั้น 8 ห้องเรียน ใต้ถุนโล่ง แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2522
​พ.ศ. 2526​ สภาตำบลบางเขนสร้างศาลาไทยอเนกประสงค์ 1 หลัง และซุ้มพระพุทธรูป
​พ.ศ. 2539​ นายเฉลิม วงษ์เพ็ง ประธานมูลนิธิ เฉลิม – เจียร วงษ์เพ็ง สร้างส้วมแบบ สปช. 601/2526 ชายและหญิง จำนวน 10 ห้อง
​พ.ศ. 2539​ เปิดสอนระดับอนุบาล
​พ.ศ. 2540​ คณะกรรมการโรงเรียนร่วมกับนางละมูล ทองโอฬาร สร้างห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
​พ.ศ. 2543​ นายเฉลิม วงษ์เพ็งบริจาคทรัพย์สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 2/28 จำนวน 4 ชั้น 9 ห้องเรียน 1 ห้องสมุด 1 ห้องประชุม 1 ห้องผู้บริหาร จำนวนเงิน 4,176,000 บาท และบริจาคเพิ่มเติมอีก 200,000 บาท ทำพิธีเปิดในวันที่ 11 พฤษภาคม 2544
​พ.ศ. 2551 เปิดสอนเตรียมอนุบาล (อนุบาล 3 ขวบ)
​พ.ศ. 2551 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดมอบคอมพิวเตอร์พร้อมชุดโต๊ะคอมพิวเตอร์ จำนวน 30 เครื่อง
พ.ศ. 2552​ได้รับงบประมาณจากจังหวัดนนทบุรีสร้างโครงหลังคาคลุมสนามหน้าอาคารเรียน
พ.ศ. 2553 ประชาชนร่วมกันบริจาคเงินเพื่อซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก 53 ตารางวา นอกจากนั้นยังบริจาคเงินเพื่อปรับภูมิทัศน์ สร้างเวที สร้างเสาธงใหม่ให้เหมาะสมสวยงาม
พ.ศ. 2553​ คุณจีระ วงษ์เพ็ง จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมระบบธุรกิจให้แก่สหกรณ์ของโรงเรียน มูลค่า 70,000 บาท และจัดซื้อหุ้นโรงเรียน จำนวน 1,100 หุ้น
นอกจากนั้นให้ความอนุเคราะห์เพื่อดำเนินการปรับปรุงอาคารอนุบาล จัดซื้อสื่ออนุบาลให้ทันสมัยและเหมาะสมกับนักเรียน จำนวนเงิน 100,100 บาท
​พ.ศ. 2553 ได้รับงบประมาณจัดสรรงบ SP2 จัดสรรคอมพิวเตอร์จำนวน 20 ชุด
พ.ศ. 2554 ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณอาคารไม้ ให้สวยงาม น่าเรียน โดยจัดทำห้องพิเศษ ได้แก่ ห้องอาเซียน ห้องการงาน ห้องดนตรี และห้องสมุด
​พ.ศ. 2555 เตรียมอนุบาล (อนุบาล 3 ขวบ) โอนย้ายเป็นของเทศบาลนครนนทบุรี เปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 8”
​พ.ศ. 2557 ปรับปรุงศาลาไทยอเนกประสงค์ ให้เป็นห้องกิจการนักเรียน,ธนาคารโรงเรียน,ห้องสหกรณ์ ด้วยงบบริจาค
พ.ศ. 2558 ได้รับเงินจัดสรร ปีงบประมาณ 2558 ตามโครงการตามาตรฐานการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในระยะ 3 เดือนแรก ประเภทงบประมาณสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อเป็นค่าปรับปรุงอาคารเรียนแบบ 508 และ สปช.2/28 จำนวนเงิน 465,771 บาท
(สี่แสนหกหมื่นห้าพันเจ็ดร้อยเจ็ดสิบเอ็ดบาทถ้วน) เพื่อซ่อมแซมหลังคาที่ชำรุด
พ.ศ. 2558 ได้รับงบประมาณจัดสรรจัดซื้อคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่สำหรับครู จำนวน 6 เครื่อง
​พ.ศ. 2558 ได้รับจัดสรรจากงบประมาณ 2559 เพื่อใช้ปรับปรุงอาคาร3ชั้นในการทาสีอาคารภายนอก จำนวนเงิน 131,000 บาท
​พ.ศ. 2558 ได้รับงบบริจาคจัดซื้อสื่อสมาร์ททีวี จำนวน 16 เครื่อง
​พ.ศ. 2559 ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโรงเรียนให้ดูสวยงามมากขึ้น โดยทาสีใหม่ ได้แก่ บริเวณรั้วและประตูโรงเรียน ซุ้มพระ ห้องน้ำหญิง ห้องน้ำชาย ด้วยงบบริจาคและจากการระดมทรัพยากรของคณะกรรมการสถานศึกษาและพระครูสังฆรักษ์สมพงษ์ สารคน̣โธ จำนวนเงิน 50,000 บาท
พ.ศ.2560 อาคาร 3 ชั้น แบบ 508 ปรับปรุงห้องเรียนคอมพิวเตอร์ งบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือ จำนวนเงิน 710,400 บาท (เจ็ดแสนหนึ่งหมื่นสี่ร้อยบาทถ้วน)
​พ.ศ. 2560 ได้รับงบประมาณ DLTV จัดสรรสื่อสมาร์ททีวี จำนวน 2 เครื่อง
​พ.ศ. 2561 ได้รับงบประมาณจัดสรร ปีงบประมาณ 2561 เพื่อใช้ปรับปรุงอาคาร แบบ 017 ในการเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา และปรับปรุงพื้นบันได จำนวนเงิน 161,500 บาท
พ.ศ.2562 ปรับปรุงบริเวณข้างและด้านหลังอาคารอเนกประสงค์ที่เชื่อมต่อกับโรงอาหาร โดยติดกันสาด ด้วยงบบริจาค จำนวนเงิน 31,000 บาท
​พ.ศ.2562 ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหน้าห้องอำนวยการ ด้วยงบประมาณเงินอุดหนุนรายหัว โครงการพัฒนาอาคารสถานที่ จำนวนเงิน 35,000 บาท
​พ.ศ.2562 ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโรงเรียนให้ดูสวยงามมากขึ้น โดยทาสีอาคารเฉลิม เจียรวงษ์เพ็ง และรั้วโรงเรียน โดยได้รับบริจาคสีมาจากบริษัท เอ็ม.อี.อี ทีม คอนสตรัคชั่น จากัด และ ร้อยตารวจโท นเรศ ศิริ จำนวนเงิน 21 ถัง
​พ.ศ. 2562 ปรับปรุงห้องสุขาชั้น 3 ติดพัดลมเพดาน ระบบไฟ ระบบประปา โดยมูลนิธิเฉลิม-เจียรวงษ์เพ็ง อุปถัมภ์
พ.ศ. 2563  ปรับปรุงระเบียงทางเดินและบันได อาคาร 508 และ อาคาร สปช. 2/28
พ.ศ. 2563  ปรับปรุงเวที ที่นั่งพักผู้ปกครอง ที่จอดรถ สนาม ห้องอำนวยการ งบประมาณโครงการพลังการศึกษาเพื่อพัฒนาอนาคตผู้เรียน
พ.ศ. 2564  ปรับปรุงได้รับเงินจัดสรร ปีงบประมาณ 2564 เพื่อใช้ปรับปรุงอาคารประกอบ การเปลี่ยนกระเบื้องหลังคา ฝ้าและรางน้ำฝน
พ.ศ. 2564  ปรับปรุงซ่อมแซมระบบรักษาความปลอดภัย(ซ่อมแซมระบบกล้องวงจรปิด)

ข้อมูลทั่วไปโรงเรียนวัดทางหลวงโพธิ์ทอง

ปรัชญาของโรงเรียน
วัดทางหลวงโพธิ์ทอง

นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา ​
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี

สีประจำโรงเรียน : สีม่วง – ชมพู

ม่วง หมายถึง มีความขยันขันแข็ง กระตือรือร้น อดทนและรอบรู้
ชมพู หมายถึง มีความคิดสร้างสรรค์ มุงมั่นในการเรียน เสียสละอดทนและมีสมาธิ

อักษรย่อของโรงเรียน

ท.พ.

ดอกไม้ประจำโรงเรียน

ดอกเฟื่องฟ้า

คุณธรรมอัตลักษณ์

​วินัย พอเพียง จิตอาสา

เอกลักษณ์

สถานศึกษารักษ์ความเป็นไทย
ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

อัตลักษณ์

พลเมืองดี มีคุณธรรม
น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ค่านิยมองค์กร

​“สามัคคี มีวินัย นำองค์กรสู่ใจคน”

วิสัยทัศน์ (Vision)

พัฒนาคุณภาพการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้  มุ่งเน้นการเป็นพลเมืองดี  มีวินัย  ภูมิใจในชาติ   มีศักยภาพด้านเทคโนโลยี  บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม

กลยุทธ์ (Stategie)

  • จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง 
  • ​พัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  • ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาให้ตรงตามมาตรฐานวิชาชีพ
  • พัฒนาการบริการทางการศึกษา  การเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและลดความเหลื่อมล้ำ
  • จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ​พัฒนาระบบการบริหารจัดการ ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

บุคลากรโรงเรียน

ผู้บริหาร 1คน
ครูชำนาญการ 2คน
ครู 9คน
ครูผู้ช่วย 5คน
ครูอัตราจ้าง 5คน
ครูต่างประเทศ 1คน
นักเรียน 288คน

พันธกิจ (Mission)

  • พัฒนาคุณภาพการศึกษา กระบวนการเรียนรู้ ให้ได้มาตรฐาน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
  • ยกระดับผลสัมฤทธิ์ และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้มีความรู้ ความสามารถ ตรงตามมาตรฐานการศึกษา
  • ส่งเสริมนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีคุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยี มีศักยภาพในการทำงานเป็นทีมอย่างครูมืออาชีพ
  • ส่งเสริมการประกันคุณภาพการศึกษา และระบบบริหารจัดการสถานศึกษา ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • ประสานความร่วมมือจากชุมชน องค์กร และภาคีเครือข่าย เพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ

เป้าประสงค์ (Objective)

  • ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนากิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ ให้มีความหลากหลาย เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
  • ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ผู้เรียนอ่านออก เขียนได้ คำนวณเป็น มีทักษะด้านเทคโนโลยี และมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
  • นักเรียน ครูและบุลากรทางการศึกษา เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ รักษ์สิ่งแวดล้อม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
  • ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยี มีการทำงานเป็นทีม และมีศักยภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
  • สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง มีระบบบริหารจัดการสถานศึกษาด้วยเทคโนโลยี มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
  • ชุมชน องค์กร และภาคีเครือข่าย ให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

จุดเน้น

  • นักเรียนชั้น ป. 1 – ป. 6 อ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณเป็น
  • นักเรียนมีพัฒนาการเหมาะสมตามช่วงวัย และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
  • นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เป็นพลเมืองดี มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง
  • นักเรียนเรียนรู้ด้วยวิธีการ Active Learning โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สืบค้นหาความรู้

โมเดลในการขับเคลื่อนสถานศึกษา

“SMART TP MODEL”

​S = Sufficiency economy คือ การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการใช้ชีวิต
​M = Morality คือ การมีคุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงาน
​A = Activity คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
​R = Result คือ การร่วมกันมุ่งผลสัมฤทธิ์ด้านคุณภาพผู้เรียนและคุณภาพการจัดการศึกษา
​T = Technology คือ การใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานและการจัดการเรียนการสอน
​T = Team work คือ การเรียนรู้และทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
​P = Participation คือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา